เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Columns)

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Columns) จะเป็นตัวรับน้ำหนักของอาคาร โดยตัวอาคารจะถ่ายน้ำหนักมาลงที่เสาในแนวดิ่ง และในบางครั้งอาจจะต้องรับโมเมนต์ดัดด้วย ซึ่งเสาจะมีรูปแบบและข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ในการพิจารณาออกแบบเสาจะต้องพิจารณาถึงการรับแรงของเสาและลักษณะปลายยึดของหัวเสาด้วย ลักษณะของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถแบ่งโดยสังเขปเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. แบ่งตามลักษณะของแรงที่มากระทำ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ … Read More

เครื่องมือ และ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการทดสอบดินในสนาม

เครื่องมือ และ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการทดสอบดินในสนาม 1. เครื่องมือในการทำ TRIAL PIT TEST PIT เป็นเครื่องมือที่ใช้การขุดหลุมโดยใช้แรงงานของคนเป็นหลัก ซึ่งหาได้ง่ายทั่วๆ ไป นิยมใช้กับดินที่ไม่แข็งมากนัก และในความลึกที่ค่อนข้างตื้น ซึ่งจะมีการรบกวนดินที่ค่อนข้างน้อย สามารถเห็นการเรียงตัวของชั้นดินได้โดยง่าย แต่มักพบปัญหาคือ ระดับของน้ำใต้ดินหากว่ามีการขุดที่ลึกกว่า 2 … Read More

ความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับ โครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพัง หรือ SOIL RETAINING STRUCTURTES

ความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับ โครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพัง หรือ SOIL RETAINING STRUCTURTES จุดประสงค์ของการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพัง คือ การป้องกันการเคลื่อนตัวของมวลดิน ไม่ให้ดินเกิดการเคลื่อนที่เข้ามาสู่ตัวโครงสร้างจนโครงสร้างเกิดการวิบัติขึ้น ทั้งนี้การประยุกต์ใช้โครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพังในทางวิศวกรรรม เช่น งานดินถม งานดินขุด งานสะพาน งานโครงสร้างเพื่อป้องมิให้น้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนมากแล้วโครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพังนั้นมักที่จะก่อสร้างขึ้นในรูปแบบของกำแพงหรือ WALL ที่จะทำหน้าที่ในการกันดิน … Read More

ความรู้เรื่องวิศวกรรมความปลอดภัย

ความรู้เรื่องวิศวกรรมความปลอดภัย ในความเป็นจริงแล้ว วิศวกรรมความปลอดภัยนั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องเฉพาะกับงานในสาขาวิศวกรรมโยธาเพียงสาขาเดียวเท่านั้น แต่ศาสตร์ทางด้านนี้ถือเป็นสาขาวิชาการหนึ่งที่มุ่งเน้นทำการศึกษา และทำการจัดการเกี่ยวกับระบบต่างๆ ของการทำงาน โดยที่จะเน้นไปที่การผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งก็อาจจะครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของอุปกรณ์ในการผลิต ในการติดตั้ง รวมไปถึงในขั้นตอนและวิธีการทำงาน อีกทั้งยังเป็นหลักสูตรที่พูดถึงเรื่องของการประเมินความเสี่ยงในเชิงคณิตศาสตร์อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ สาขาวิศวกรรมความปลอดภัยนั้น จะเน้นรูปแบบของการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย โดยที่จะให้สอดคล้องกันกับระดับที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของงานนั้นๆ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้วหากเราจะสามารถทำการควบคุมหรือจำกัดการเกิดของอุบัติเหตุได้ เพราะวิธีการนี้เป็นวิธีการที่เราจะทำการ “ป้องกัน” … Read More

การพิจารณาเรื่องขนาดของโครงสร้างเสา

การพิจารณาเรื่องขนาดของโครงสร้างเสา ในการพิจารณาเรื่องขนาดของโครงสร้างเสานั้นเราควรทำการพิจารณาจาก 3 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่ (1) ขนาดจำนวนชั้นของอาคารที่เสาต้นนั้นจะต้องรับ หากอาคารเป็นเพียงอาคาร 1 ถึง 2 ชั้น อาจจะทำการออกแบบให้โครงสร้างเสานั้นมีขนาดปกติ กล่าวคือ อาจจะเป็นขนาดของเสาที่เล็กที่สุด คือ 200×200 มม. แต่ยิ่งอาคารมีขนาดจำนวนชั้นที่มากขึ้นเท่าใด แสดงว่าน้ำหนักในแนวดิ่ง … Read More

การทดสอบเสาเข็ม

การทดสอบเสาเข็ม ประเภทของการทดสอบเสาเข็มสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีการหลักๆ คือ 1. การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (PILE INTEGRITY TEST) โดยวิธี SEISMIC TEST ซึ่งข้อจำกัดของการทดสอบโดยวิธีนี้ คือ ใช้ได้เฉพาะกับ เสาเข็มเจาะ หรือ เสาเข็มตอกที่มีจำนวนท่อนเพียง 1 … Read More

เมื่อตอกเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ลงไปในดิน จะมีปัญหาเรื่องการเกิดสนิมหรือไม่

เมื่อตอกเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ลงไปในดิน จะมีปัญหาเรื่องการเกิดสนิมหรือไม่ สนิมเหล็ก คือสารประกอบระหว่างเหล็กกับออกซิเจน มีชื่อทางเคมีคือ ไฮเดรตเฟอริกออกไซด์ (Fe2O3.XH2O3) ลักษณะเป็นคราบสีแดง ซึ่งไม่สามารถเกาะอยู่บนผิวของเหล็กได้อย่างเหนียวแน่น สามารถหลุดออกไปได้ง่าย ทำให้เนื้อเหล็กที่อยู่ชั้นในสามารถเกิดสนิมต่อไปจนกระทั่งหมดทั้งชิ้น กระบวนการเกิดสนิมเหล็กค่อนข้างซับซ้อน โดยมีปัจจัยหลักก็คือ น้ำและออกซิเจน วิธีการป้องกันเหล็กไม่ให้เกิดสนิมมีอยู่หลายวิธี เช่น การเคลือบผิวเหล็ก เพื่อป้องกันมิให้เนื้อเหล็กสัมผัสกับน้ำและอากาศโดยตรง อาจทำได้หลายวิธี … Read More

แรงดันดินใต้ฐานราก (BEARING PRESSURE OF SOIL UNDER ON GRADE FOOTING)

แรงดันดินใต้ฐานราก (BEARING PRESSURE OF SOIL UNDER ON GRADE FOOTING) แรงดันดินหรือแรงดันแบกทาน (BEARING PRESSURE) ภายใต้ฐานรากนั้นหาได้โดยการตั้งสมมุติฐานให้ตัวฐานรากนั้นเป็นองค์อาคารที่มีความแข็ง (RIGID) และดินใต้ฐานรากนั้นมีคุณสมบัติเป็นวัสดุที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีความยืดหยุ่นตัว (HOMOGENEOUS ELASTIC MATERIAL) ซึ่งเราจะถือว่าดินในบริเวณนี้นั้นถูกตัดขาดออกจากดินโดยรอบฐานรากเนื่องจากแรงดันในดินนี้จะถูกสมมุติให้มีค่าแปรผันโดยตรง … Read More

ชนิดของเสาเข็ม

ชนิดของเสาเข็ม ถ้าจำแนกเสาเข็มตามวัสดุที่ใช้ทํา และการใช้งานสามารถแบ่งออกได้เป็น -เสาเข็มไม้ เสาเข็มไม้ตามปกติเป็นไม้เบญจพรรณ ตัดกิ่งและทุบเปลือกออก ตอนตอกเจาะด้าน-ปลายลง ต้องมีลําต้นตรงไม่ผุหรือมีราขึ้น เสาเข็มไม้จะต้องทุบเปลือกหรือถากเปลือกออกทั้งหมด ตาไม้ต่างๆจะต้องตัดให้เรียบเสมอ ฝั่งของต้นเสาเข็มปลายและหัวเสาเข็มจะต้องเลื่อยตัดเรียบได้ฉากกับลําต้น -เสาเข็มคอนกรีตหล่อสําเร็จ เสาเข็มคอนกรีตหล่อสําเร็จ ตามปกติเรามักจะหล่อเสาเข็มในโรงงานก่อน เมื่อคอนกรีตได้อายุแล้ว ค่อยขนย้าย จากโรงงาน ไปยังสถานที่ก่อสร้าง หรือในบางครั้ง เราอาจหล่อเสาเข็มในบริเวณที่ก่อสร้างเลยก็ได้ … Read More

จะสร้างบ้านทั้งที ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ บ้านถึงจะไม่ทรุด

จะสร้างบ้านทั้งที ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ บ้านถึงจะไม่ทรุด ความสำคัญของเสาเข็ม เสาเข็มเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโครงสร้างบ้าน เป็นส่วนประกอบของฐานรากซึ่งจะฝังตัวอยู่ในดิน เพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบ้านทั้งหลัง หากว่าเราสร้างบ้านแล้วไม่ได้ลงเสาเข็มไว้ น้ำหนักของตัวบ้านก็จะกดทับผิวดินด้านบนให้ค่อยทรุดตัวลงทีละนิดจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างบ้านได้ เสาเข็มช่วยแก้ปัญหาบ้านทรุด และรับน้ำหนักได้อย่างไร? เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักที่กดทับได้ด้วยแรง 2 ชนิดหลักๆ คือ 1. แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin Friction) คือแรงต้านที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบ … Read More

1 2 3